ยินดีต้อนรับ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555


28 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


      วันนี้ท่านอาจารย์จินตนาได้ให้นักศึกษาแสดงคิดเห็นเกี่ยวกับ คิดอย่างไรที่รัฐบาลแจกแท๊บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการให้นักศึกษาแสดงออกมาในรูปแบบใดก็ได้ โดยดิฉันได้แสดงความคิดเห็นออกมาในรูปแบบแผนผัง



21 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

    วันนี้ท่านอาจารย์จินตนา ได้ตรวจบล๊อกของนักศึกษา และบอกให้นักศึกษาทำให้สวยงามเพราะคะแนนเต็มถึง 40 คะแนน และได้ส่งงานที่ตรวจแล้วคืนให้นักศึกษาเพื่อเก็บเป็นผลงานไว้ใช้ศึกษาภายหน้าในอนาคตของนักศึกษาเอง

       ลิ้งค์โทรทัศน์ครู          


14 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

**** หมายเหตุ

      วันนี้ดิฉันนางสาวศริวรรณ  ปานมุข ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากป่วย ปวดท้องปรำจำเดือนอย่างหนัก จึงไม่สามารถมาศึกษาเล่าเรียนได้ตามปกติเช่นเคย
  
                                                                  จึงเรียนมาเพื่อทราบ
                                                               นางสาวศริวรรณ   ปานมุข
                                                                       5411201675



                                     

7 กันยายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


       วันนี้ท่านอาจารย์จินตนาได้ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการคุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซี่ยน  "  โดยได้รับเกรียติจากท่าน ผอ. ราตรี ศรีไพรวรรณ จากโรงเรียนพระยาประเสริฐ เป็นวิทยากรในการบรรยายในครั้งนี้ค่ะ

                                       800px-flag_of_asean_svg

                      "One  Vision, One Identity, One Community"                          หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้


รวมลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat, Jakarta, Indonesia)
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network)
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.
เกร็ดความรู้อาเซียน ข้อมูลง่ายๆ ที่ช่วยให้รู้จักกับอาเซียนมากยิ่งขึ้น
ศูนย์การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน - ม.ราชภัฏศรีสะเกษ



                         
           

31 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


วันนี้ท่านอาจารย์จินตนาได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอเพลงที่แต่งขึ้นมาเองของกลุ่มตนเอง

                                                   

                                                    กลุ่มของดิฉัน เพลง ดื่มนมกันนะ
                                                  
                                        เด็กๆ ดื่มนมกันนะ    ดื่มนมกันนะ     ร่างกายแข็งแรง
                                     
                                               มีทั้งนมหวาน นมจืด มีทั้งนมหวาน  นมจืด

                                                       มาซิมา มาดื่มนมกันนะ  (ซ้ำ)



24 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


      วันนี้ท่านอาจารย์จินตนาได้เล่านิทานให้ฟังหนึ่งเรื่องนั้นก็คือเรื่อง

                                                                  ช้างน้อยอัลเฟรต

                                                             images/stories/alf34.jpg


เรื่องย่อ
         อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

แนวคิดสำคัญ

images/stories/alf35.pngแม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
images/stories/alf35.png การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ
 images/stories/alf35.png เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ


17 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.

**** หมายเหตุ

      วันนี้ดิฉันนางสาวศริวรรณ  ปานมุข ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบายค่ะ จึงไม่สามารถมาศึกษาเล่าเรียนได้ตามปกติ เช่นเคย


                                                                   จึงเรียนมาเพื่อทราบ
                                                                                                      
                                                               นางสาวศริวรรณ    ปานมุข
                                                                      5411201675





10 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.




        วันนี้ท่านอาจารย์จินตนา พานักศึกษาไปร่วมกิจกรรมวันแม่ ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ภายในงานตื่นตาตื่นใจมากๆได้พบการแสดงที่ประทับใจเป็นอย่างมาก เป็นการแสดงจากคณะมนุษย์ศาตร์ เอกดนตรีและนาฎศิลป์ มีการแสดงทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน มีการแสดงดังนี้

              1. จินตลีลาประกอบเพลง
 
              2. ร้องเพลง

              3. การขับร้องเพลงประสานเสียงวงใหญ่ ( ในนี้มีพี่จอย af8 ร่วมประสานเสียงอยู่ด้วย )


              หลังจากที่จบกิจกรรมวันแม่ท่านอาจารย์จินตนา ได้พานักศึกษามาที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์โดยได้ให้นักศึกษาจับฉลากพยัญชนะไทย จับได้ตัวอักษรใด ให้นักศึกษาทำปฎิทินภาพปริศนาเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันจับได้พยัญชนะไทยเป็นตัว ส.เสือ ค่ะ







3 สิงหาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาเรียน 8.30 - 12.20 น.


** หมายเหตุ

      ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจาก  เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาคค่ะ  จึงงดการเรียนการสอนตามข้างต้นค่ะ

                                                                                           จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                                                                      นางสาวศริวรรณ    ปานมุข
                                                                                                 5411201675




                                                                                       



27 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลา 8.30 - 12.20 น.

หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่มดิฉันได้รับงานที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมาย วันนี้จึงได้มานำเสนอผลงานของกลุ่มดิฉัน โดยการนำเสนอผลงานสื่อในรูปแบบของ PowerPoint จำนวนหลายสไลด์ กลุ่มของหนูได้นำนิทานเล่มใหญ่ เรื่อง ปืนลูกหิน ไปเล่าให้น้องฟัง ซึ่งน้องตั้งใจฟัง และพยายามพูดคุยกับพี่ๆ กลุ่มดิฉันได้ไปเล่านิทานให้น้องฟังที่สำนักวิทยบริการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ชั้น 6 



วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


20 กรกฎาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย   
เวลา 8.30 - 12.20 น.
 
** หมายเหตุ

    ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากท่านอาจารย์จินตนา ติดธุระด่วน  ท่านอาจารย์จึงได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษา โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม และจากนั้นก็จับฉลากข้อหัวงานที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมาย ซึ่งภายในฉากนั้นจะระบุ ประเภทของหนังสือ + อายุของเด็กปฐมวัย ใส่ไว้ เมื่อได้หัวข้องานของกลุ่มตนเองแล้ว กลุ่มดิฉันจับได้หัวข้อ > Bigbook < ได้ระดับชั้นอนุบาล 2
   ให้นำไปเล่านิทานให้กับน้องๆ และนำมาเสนอการรายงานในแบบของสื่อ PowerPoint 
และกำหนดส่งพร้อมรายงานในสัปดาห์หน้าของการเรียน


 13 กรกฎาคม 2555
 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย   
 เวลา 8.30 - 12.20 น.

-  เหตุการณ์วันไปถ่ายทำ
   
      ในวันที่กลุ่มดิฉันไปถ่ายทำ กลุ่มดิฉันไปถ่ายทำที่ลาดกระบัง แถวบ้านของนางสาวจินตนา แก้วแสงสิม หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มดิฉัน ในวันนั้นเราเดินทางไปที่ถ่ายทำเวลา 09.00 น. ไปถึงสถานที่ถ่ายทำเวลา 10.00 น. พอมาถึงพวกเราก็นั่งแยกแยะหน้าที่ของกันและกัน จากนั้นกลุ่มดิฉันก็เดินทางไปถ่ายทำที่บ้านน้องออม ผลปรากฎว่าน้องไม่ให้ความร่วมมือ พวกเราจึงได้เปลี่ยนแผนการดำเนินงานใหม่ทันที โดยได้ไปพบกับน้องมิ้งค์ น้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนทำให้เราได้มีงานที่ดีๆกลับมาส่งท่านอาจารย์จินตนา

- บรรยากาศในห้องเรียน ในวันที่รายงานหน้าชั้นเรียน

      ในวันที่รายงาน ได้ย้ายห้องเรียนมาที่ห้องศูนย์ครู กลุ่มดิฉันได้ออกมารายงานพร้อมสื่อที่กลุ่มเราจัดทำมา โดยท่านอาจารย์จินตนาก็ได้ให้คำแนะนำ และกล่าวถึงจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไข 











6 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

เวลา 8.30 - 12.20 น.

  วันนี้ท่านอาจารย์จินตนา ได้บอกให้นักศึกษาแบ่งกันจับกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มละ 4 คน โดยจะมีการจับฉลาก เพื่อที่จะได้ทราบว่ากลุ่มตนเองนั้น ได้หัวข้องานอะไร โดยมีข้อหัวงานดังต่อไปนี้

1. เด็กอายุ 2 ขวบ
2. เด็กอายุ 3 ขวบ
3. เด็กอายุ 4 ขวบ
4. เด็กอายุ 5 ขวบ
5. เด็กอายุ 6 ขวบ
6. เด็กอายุ 7 ขวบ
7. เด็กอายุ 8 ขวบ
  
   กลุ่มของดิฉันก็ได้ส่งตัวแทนออกไปจับฉลาก ผลปรากฏว่า กลุ่มของดิฉัน ได้หัวข้อเด็กอายุ 7 ขวบ 
ซึ่งท่านอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปสังเกตพฤติกรรมทางด้านภาษา โดยการใช้เทคนิค การบันทึกภาพเคลื่อนไหว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า VDO นั่นเองคะ และกำหนดส่งพร้อมรายงานหน้าชั้นเรียนภายในสัปดาห์หน้าของการเรียน
   

29 มิถุนายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาเรียน  8.30 - 12.20 น.

** หมายเหตุ
 
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากท่านอาจารย์จินตนา ติดประชุม


 22 มิถุนายน 2555

 วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 
 เวลา 8:30 - 12:20 น. 


วันนี้้ได้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์จินตนาได้สอนเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถแบ่งออก 3 หัวข้อดังนี้

1. หลักการจัดประสบการณ์
2. สื่อ/สภาพแวดล้อมสนับสนุน
3. การวัดประเมินผล
4. เทคนิควิธิ

ภาษา เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ แนวทางการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยตามสภาพจริง 
-ใช้เครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของเด็ก ครูต้องศึกษาพัฒนาการด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนของเด็ก
-ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย การประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ควรเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินที่เหมาะสม คือ การสังเกตหรือการสนทนากับเด็ก

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555
วันนี้อาจารย์ สอนเกี่ยวกับความสำคัญของรายวิชาว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีความสำคัญอย่างไร
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ตามลำดับ
อากาศในห้องหนาวมาก จนดิฉันต้องใส่เสื้อแขนยาว
อาจารย์ได้ให้เพื่อนคนที่สมัครบล็อกแล้วไปเพิ่มลิ้งค์ชื่อของอาจารย์ให้เพื่อนๆดู

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555
เวลา 08.30 - 12.20 น.
   วันนี้ย้ายห้องเรียนจากห้อง 224 มาเรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์ที่ตึกคณะ อากาศภายในห้องเย็นมาก อาจารย์จ๋าสอนให้ทำ Blogger เป็นของตัวเอง บางคนก็สร้างได้ แต่บางคนก็สร้างไม่ได้